Posted on

นพเก้าแท้ นพเก้าเทียม

นพเก้าแท้ นพเก้าเทียม

นพเก้า อัญมณีทั้ง 9 แห่งพลัง ส่งเสริมความโชคดี ความมั่งคั่ง ความแคล้วคลาด ความรักใคร่เอ็นดู สุขภาพจิต

นพเก้า ประกอบได้ดั่งคำกลอน เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์

นพเก้าแท้ หากเทียบตามคำกลอน ก็จะประกอบไปด้วย

  • เพชรดี หมายถึง เพชร
  • มณีแดง หมายถึง ทับทิม
  • เขียวใสแสง หมายถึง มรกต
  • เหลืองใสสด หมายถึง บุษราคัม
  • แดงแก่ก่ำ หมายถึง โกเมนแดง
  • สีหมอกเมฆนิลกาฬ หมายถึง ไพลิน
  • มุกดาหารหมอกมัว หมายถึง มุกดา
  • แดงสลัว หมายถึง เพทายสีน้ำตาล
  • สังวาลสาย หมายถึง ไพฑูรย์

ดังนั้น หากเทียบตามคำกลอน นพเก้าแท้ จึงต้องประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน ไพลิน มุกดา เพทาย และ ไพฑูรย์ เท่านั้น หากไม่ใช่ดังนี้ ก็จะไม่ถือว่าเป็น นพเก้าแท้

แต่เนื่องจาก การจัดหาอัญมณีทั้ง 9 แบบมาประกอบเป็น นพเก้าแท้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะของดีนั้นหายาก ดังนั้น จึงมีผู้ค้าหลายราย ประกอบ นพเก้าเทียม ขึ้นมา และบอกกับลูกค้าว่าเป็น นพเก้าแท้

นพเก้าเทียม หากเทียบตามคำกลอน ก็มักจะไม่ใช้อัญมณีที่ตรงตามตำรา แต่ถูกแทนที่ด้วยอัญมณีแท้หรือเทียมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • เพชรดี อาจถูกทดแทนด้วย พลอยสังเคราะห์ CZ หรือ เพทายขาว หรือ โทแพสขาว
  • มณีแดง อาจถูกทดแทนด้วย สปิเนล หรือ โทแพสแดง
  • เขียวใสแสง อาจถูกทดแทนด้วย เพอริดอท หรือ โกเมนเขียว
  • เหลืองใสสด อาจถูกทดแทนด้วย ซิทริน
  • แดงแก่ก่ำ ไม่ถูกทดแทน มักจะใช้โกเมนแดงเหมือนเดิม
  • สีหมอกเมฆนิกาฬ อาจถูกทดแทนด้วย แทนซาไนท์ หรือ ไอโอไรท์ หรือ ไคยาไนท์ หรือ โทแพสฟ้า
  • มุกดาหารหมอกมัว อาจถูกทดแทนด้วย โอปอลขาว
  • แดงสลัว อาจถูกทดแทนด้วย ปะการังแดง
  • สังวาลสาย อาจถูกทดแทนด้วย ควอตซ์น้ำตาล

สรุปแล้ว การจัดหา นพเก้า ต้องดูให้ดีว่าเป็น นพเก้าแท้ หรือ นพเก้าเทียม หากเป็น นพเก้าแท้ พลานุภาพตามความเชื่อก็สามารถเกิดได้โดยบริบูรณ์